อินเตอร์เน็ต

หนึ่งในเหตุผลของการเกิดพายุทอร์นาโดและมรสุมพัดพา..

เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงทำให้เกิดกการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อย ๆ ช้าลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไปได้อย่างง่ายดาย

86-300x199

ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ

โดยมรสุมจะเกิดในทะเลอาหรับก่อน ลมนี้เป็นลมที่พัดมาจากภาคพื้นทวีปแถบประเทศอาฟกานิสถาน ปากีสถานและตอนเหนือของประเทศอินเดีย ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่ทะเลอาหรับ เป็นระยะเวลา 6 เดือน แล้วเปลี่ยนกลับไปในทิศทางตรงข้าม คือ จากทะเลอาหรับเข้าสู่ภาคพื้นทวีปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะเวลา 6 เดือน เช่นกัน ต่อมาได้นำคำนี้ไปใช้เรียกลมที่มีลักษณะอย่างเดียวกันแต่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลกด้วย

การเตรียมการป้องกันจากอันตรายของพายุ อย่างแรกคงต้องติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ คอยสอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา และยังต้องซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร ทั้งยังต้องเตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ

ความน่ากลัวของพายุทอร์นาโด

พายุ

ในบรรดาพายุร้ายแล้วพายุทอร์นาโดเป็นพายุที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจะทำลายเคหสถานบ้านช่อง ตึก สะพาน ต้นไม้ เรือ และแม้กระทั่งรถไฟให้พินาศเสียหายได้  ชีวิตของคนจำนวนหมื่นและทรัพย์สินจำนวนล้าน เคยถูกพายุระหน่ำทำลายมาแล้วมากต่อมาก พายุร้ายนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ทวีปอเมริกาเหนือ และฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือด้านมหาสมุทรอัตลันติค

คำว่า “ทอร์นาโด” เป็นคำเสปญ แปลว่า หมุนเป็นเกลียว เพราะพายุนี้เป็นพายุหมุนมีเส้นผ่าศูนย์กลางของการหมุนแคบๆ แต่มีอัตราเร็วของการหมุนถึงชั่วโมงละ 300-500 ไมล์ ความเร็วของการหมุนนี้ถ้าผ่านไปในมหาสมุทรหรือลำแม่น้ำจะหอบเอาน้ำขึ้นเป็นลำไปในอากาศเกิดคลื่นลมร้ายแรงสามารถยกเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ขึ้นไปติดอยู่บนฝั่งลึกเข้าไปได้เป็นไมล์ๆ ถ้าผ่านไปบนบกก็จะทำลายสิ่งกีดขวางทางเดินแหลกลาญไปตลอดระยะ ทางการเคลื่อนที่ของพายุนี้มีอัตราความเร็วราว 50  ไมล์ ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้เกิดพายุทอร์นาโดนี้เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็ว ใกล้ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อยๆ ช้าลง แต่อย่างไรก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไปได้อย่างง่ายดาย ลมหมุนประเภทนี้ถ้าเกิดในเขตทะเลจีนทางด้านเอเซียตะวันออก เรียกว่า ลมใต้ฝุ่น นับเป็นภัยธรรมชาติที่น่ากลัวมากอย่างหนึ่ง

ทอร์นาโดที่มีอานุภาพทำลายล้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ

%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%94

 

Tri-State Tornado ปี 1925

พายุทอร์นาโดขนาดใหญ่ รุนแรงและน่าสะพรึงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ และของโลก กินพื้นที่กว่า 200 ไมล์ใน 3 รัฐ จากมิสซูรีไปยังอิลลินอยส์ และอินเดียนา เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1925 เริ่มต้นจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐมิสซูรีผ่านทางตอนใต้ของรัฐอิลลินอยส์แล้วเข้าไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของมลรัฐอินเดียนา แม้จะไม่ได้รับการจัดอันดับอย่างเป็นทางการแต่มันเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ที่จัดให้มันเป็นพายุทอร์นาโดความรุนแรงระดับตามมาตรวัดฟูจิตะ

เมืองนัตเชซ์ มิสซิสซิปปี ปี 1840

พายุทอร์นาโดที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ เกิดขึ้นประมาณ 20 ปีก่อนเกิดสงครามกลางเมือง คาดว่าพายุทอร์นาโดลูกนี้จะรุนแรงถึงระดับ F5 สูงที่สุดตามมาตรวัดฟูจิตะ (Fujita scale) ความเร็วลมประมาณ 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 317 ราย โดยรายงานระบุว่าในจำนวนนี้ 269 ราย เสียชีวิตเพราะเรือจมลงไปในแม่น้ำมิสซิสซิปปี

เซนต์หลุยส์ มิสซูรี ปี 1896

มิสซูรีนับเป็นรัฐหนึ่งที่เสียหายจากพายุทอร์นาโดบ่อยครั้ง โดยเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 1896 เมืองเซนต์หลุยส์ถูกพายุทอร์นาโดที่น่าสะพรึงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐพัดถล่ม เป็นทอร์นาโดที่รุนแรงระดับ F4 (ความเร็วลมประมาณ 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ตามมาตรวัดฟูจิตะ (Fujita scale) อาคารบ้านเรือนกว่า 8,800 หลังพังเสียหายยับเยิน มีผู้เสียชีวิตถึง 255 คน

เมืองโจพลิน มิสซูรี ปี 2011

เหตุการณ์นี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา พายุทอร์นาโดความเร็วลมขนาดกว่า 200 ไมล์ต่อชั่วโมง พัดผ่านเมืองโจพลินในวันที่ 22 พฤษภาคม 2011 เพียงแค่ระยะทาง 6 ไมล์ ที่พายุทอร์นาโดลูกนี้พัดผ่านก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 158 คน นับเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตที่สูงที่สุดจากพายุทอร์นาโดลูกเดียว นับตั้งแต่ปี 1947 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ยังมีผู้คนกว่า 17,000 คน บ้านของเขาได้รับผลกระทบมากกว่า 7,500 หลัง พังเสียหาย รถยนต์กว่า 15,000 คันที่ถูกพายุพัดปลิวขึ้นบนท้องฟ้าตกห่างจากจุดเดิมไปหลายช่วงตึก นับเป็นพายุทอร์นาโดครั้งประวัติศาสตร์ของสหรัฐซึ่งมูลค่าความเสียหายกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุทอร์นาโดพัดถล่มบ้านเรือนประชาชนกินอาณาเขตกว่าครึ่งไมล์ในชุมชนทางเหนือของเมืองฟลินท์ ในวันที่ 8 มิถุนายน 1953 คร่าชีวิตผู้คนไป 116 คน รับบาดเจ็บ 844 และบ้านเรือนพังเสียหาย 340 หลัง

ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากพายุทอร์นาโด

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5

ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายจากพายุทอร์นาโดมากที่สุด โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกานั้น ในปีหนึ่งๆ จะเกิดพายุทอร์นาโด โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดถึง 770 ครั้ง และมักจะเกิดในบริเวณที่ราบเท็กซัส แพนแฮนเดิล เฉียงขึ้นไปทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอกลาโฮมา แคนซัส มิสซูรี เนบราสกา ทางตอนใต้ของรัฐอิลลินอยส์ และสิ้นสุดทางตอนเหนือของรัฐไอโอว่า บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุหมุนทอร์นาโด ขึ้นประจำในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน จนได้ชื่อว่าเป็นช่องทางทอร์นาโด

นักอุตุนิยมวิทยาในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจในการศึกษารวบรวมข้อมูล เพื่อให้สามารถระบุการเกิดพายุทอร์นาโดได้อย่างแน่นอนชัดเจน แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดบอกได้อย่างชัดเจน นอกจากอาศัยการคาดการณ์เท่านั้น นักอุตุนิยมวิยาได้ให้ข้อสังเกตว่าเกือบทุกครั้งที่จะมีพายุทอร์นาโดเกิดขึ้น มักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ติดตามด้วย ลูกเห็บก้อนโตๆ ตกลงมา อย่างไรก็ตามการมีลูกเห็บตกในขณะเกิดพายุ ฟ้าคะนองนั้น ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนว่าจะต้องเกิดพายุทอร์นาโดเสมอไป แต่ที่แน่นอนก็คือเมื่อใดที่เกิดมีพายุฟ้าคะนอง และมีลูกเห็บตกลงมาด้วย นั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าพายุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นพายุที่มีความรุนแรง

พายุทอร์นาโดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นเพียง 15 – 20 นาที ส่วนวิธีป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมือกับพายุทอร์นาโดก็คือ

  1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
  2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
  3. บำรุง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลทางการเกษตร
  4. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่
  5. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนและเตรียมความพร้อมอพยพหากจำเป็นหรือได้รับการแจ้งเตือนให้อพยพ

ลักษณะของการเกิดแผ่นดินไหว

image020

“แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลย์ของเปลือกโลกให้คงที่ สาเหตุ ของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด ชนิดที่หนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น ชนิดที่สองเป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาติ ซึ่งมีทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 2 ทฤษฎี คือ

ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (Fault) ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรง และใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics) เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)
แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์

มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร เป็นต้น

แผ่นดินไหว (earthquakes)

แผ่นดินไหวคืออะไร
แผ่นดินไหวคืออาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนนี้มีตั้งแต่ที่ มนุษย์ไม่รู้สึกจนถึงขั้นที่เกิดความเสียหายพังทลายของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน ถนนหนทาง เขื่อน เป็นต้น

สาเหตุของแผ่นดินไหว
สาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก (earth crust) เนื่องจาก เปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่น ๆ(plates) เรียงประกอบกันอยู่ เสมือน jigsaw puzzle ประกอบกับภายในโลกมีความร้อนสูงมากก่อให้เกิดกระแสหมุนเวียน (convection) ของแมนเทิล (mantle) การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกมี 3 ลักษณะ

1.ชนกัน (convergent plates)
2.แยกหรือปริออกจากกัน (divergent plates)
3.เคลื่อนที่ในลักษณะเสียดสีกัน (transform plates)

เมื่อเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวไม่ว่าลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือผสมกันจะก่อให้เกิดรอย แตกของเปลือกโลกหรือหิน (fault) และการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งจะก่อให้เกิดการสะสมของพลังงานจลน์ (kinetic energy) ในเปลือกโลกบริเวณนั้นและพลังงานนี้จะถูกปลดปล่อยและแปรรูปเป็นพลังงานความร้อนจนกระทั่งหมดและกลับสู่สภาวะสมดุลย์ แต่ในช่วงที่เกิดการสะสมของพลังงานจะเกิดแรงทางธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (tectonic force) และก่อให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว(seismic waves) แพร่ออกไปทุกทิศทุกทางจากจุดแรกที่เกิดการสะสมพลังงานและพลังงานถูกปลดปล่อยออกไป (earthquake focus)

คลื่นแผ่นดินไหวที่แพร่ออกมานี้เองก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนและการทำลายเนื่องจาก คลื่นแผ่นดินไหวมีลักษณะการเคลื่อนที่ที่ซับซ้อนหลายระนาบทำให้เปลือกโลกที่คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ ผ่านเกิดอาการสั่นสะเทือนบิดเบี้ยวหรือพังทลายซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาว่าจะมีขนาดมากน้อยแค่ไหน

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่สำคัญและมี โอกาสเกิดน้อยมาก เช่น อุกาบาตตก การทดลองระเบิดนิวเคลียร์หรือการระเบิดอื่นๆ เป็นต้น

 

5 วิธี ในการเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว

know16

ภัยแผ่นดินไหว ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ และไม่สามารถแจ้งเตือนภัยได้ทันที หากเราได้ทราบถึงความอันตรายของแผ่นดินไหวแล้ว เราควรมีการวางแผน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราจากแผ่นดินไหว นอกจากนี้ การปรับปรุงที่พักอาศัยของท่าน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การยึดชั้นวางอย่างแน่นหนา ให้มั่นคงแข็งแรง รวมไปถึงไฟบนเพดาน ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง ไม่ร่วงหล่นมาง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นการลดผลกระทบความอันตรายที่เกิดจากแผ่นดินไหว

  1. ตรวจสอบความปลอดภัยในที่พักอาศัย

–  ยึดชั้นวางสิ่งของกับผนังให้แน่นหนา และปลอดภัย

–  วางสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากไว้ชั้นล่างหรือบนพื้น

–  วัสดุที่แตกง่าย เช่น แก้ว กระเบื้อง เซรามิก ควรเก็บไว้ในระดับต่ำ หรือในลิ้นชักที่ปิดสนิท และล็อกอย่างแน่นหนา

–  สิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เช่น กรอบรูป และกระจก ควรไว้ให้ห่างจากเตียงนอน และเก้าอี้พักพิง

–  ตรวจสอบ และยึดไฟเพดานให้แข็งแรง

–  ตรวจสอบและซ่อมสายไฟที่ชำรุด เนื่องจากอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ขณะเกิดแผ่นดินไหว

–  ตรวจสอบและซ่อมรอยแตกของผนัง และเพดานให้แข็งแรง โดยขอคำแนะนำจากวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง

–  ควรเก็บสารเคมีอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง  วัตถุไวไฟ ไว้ในลิ้นชักชั้นล่างอย่างมิดชิด และล็อกอย่างแน่นหนา

  1. กำหนดสถานที่ปลอดภัยทั้งในและนอกที่พักอาศัย

–  เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น ใต้โต๊ะที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง

–  ในที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก ของมีคม วัสดุที่แตกหักง่าย เช่น แก้วน้ำ หน้าต่าง กระจก กรอบรูป หรือ เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ในขณะแผ่นดินไหว

–  นอกที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ต้นไม้  สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า รวมไปถึงทางยกระดับ สะพาน เป็นต้น

  1. ให้ความรู้กับตนเองและสมาชิกในครอบครัว

–  ศึกษาหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการเตรียมพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหว โดยการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงาน อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มูลนิธิสภาพเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นต้น

–  หากสมาชิกในครอบครัวของท่านมีเด็กเล็ก ควรให้คำแนะนำและสอนบุตรหลานของท่าน ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยทางโทรศัพท์ เช่น เบอร์โทรศัพท์ 191 , 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นอกจากนี้ ควรสอนให้รู้จักการปรับคลื่นวิทยุ FM ยกตัวอย่างเช่น จส.100 , สวภ.91 เป็นต้น

  1. เตรียมเป้ฉุกเฉินไว้ให้พร้อม ยกตัวอย่างเช่น

–  ไฟฉายและแบตเตอรี่สำรอง

–  วิทยุ AM FM แบบพกพา พร้อมแบตเตอรี่สำรอง

–  ชุดปฐมพยาบาล และคู่มือปฐมพยาบาล

–  อาหารและน้ำฉุกเฉิน

–  มีดอเนกประสงค์

–  เงินสด เหรียญและธนบัตร

–  รองเท้าผ้าใบ

  1. วางแผนการติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉิน

–  ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัว ไม่ได้อยู่ที่เดียวกันในระหว่างแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ต้องไปทำงาน ส่วนเด็กต้องไปโรงเรียน ควรมีการวางแผนสถานที่นัดพบหรือสถานที่รวมตัวหลังเกิดภัยพิบัติแล้ว

–  สมาชิกในครอบครัวทุกคน ควรมี ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของญาติ เพื่อน หรือบุคคลใกล้ชิดไว้ เพื่อสามารถติดต่อกันได้ง่าย หลังเกิดเหตุภัยพิบัติแล้ว

ไซโคลนมาร์เซียพัดถล่มรัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลีย

969151ชาวออสเตรเลียต้องเผชิญหน้ากับพายุไซโคลนกำลังรุนแรงถึง 2 ลูกที่พัดขึ้นฝั่งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งเป็นไซโคลนที่พัดถล่มประกบคู่แบบแซนด์วิช เพราะมีทั้งไซโคลนมาร์เซีย (Marcia) ที่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางรัฐควีนส์แลนด์ ทางภาคตะวันออกและไซโคลนแลม (Lam) ที่ขึ้นฝั่งดินแดนนอร์ทเทิร์น เทริทอร์รี่ ทางภาคเหนือ ซึ่งพายุไซโคลนกำลังแรงมาร์เซีย ซึ่งมีความเร็วลมศูนย์กลางถึง 295 กม./ชม. หรือเทียบเท่ากับเฮอริเคนระดับ 5 ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งระหว่างเมืองเซนต์ลอว์เรนซ์ กับเมืองเยปปูน และใกล้กับเมืองร็อกแฮมตันในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลียเมื่อเวลา 08.00 น. ของเช้าวันที่ 20 ก.พ.

มาร์เซีย คือหนึ่งในพายุไซโคลนสองลูกที่ถล่มทางเหนือของออสเตรเลีย โดยลูกแรก คือ พายุไซโคลนแลมที่เข้าถล่มบริเวณชุมชนที่ห่างไกลในรัฐนอร์เทิร์น เทอร์ริทอรี ใกล้กับเกาะเอลโค ห่างจากเมืองดาร์วินไปทางตะวันออก 500 กิโลเมตร พายุไซโคลนมาร์เซียที่มีความรุนแรงในระดับ 5 ได้สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ทางตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์ จุดที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือเมืองเยพพูน ซึ่งอยู่ห่างจากบริสเบนขึ้นไปทางเหนือราว 670 กิโลเมตร หลังจากนั้นพายุไซโคลนมาร์เซียก็ได้มุ่งหน้าลงใต้ไปยังร็อกแฮมตัน น่าจะมีมากกว่า 1,500 หลังคาเรือนที่ได้รับความเสียหายทางด้านโครงสร้าง

ทางการออสเตรเลียได้ประกาศเตือนภัยพายุไซโคลนในหลายเมืองตั้งแต่เมืองเซนต์ ลอว์เรนซ์ ไปจนถึง ดับเบิล ไอส์แลนด์ พอยต์ อีกทั้งได้ขยายพื้นที่เตือนภัยพายุไซโคลนที่เมืองดอริงกา, มัวรา, ไบโลลา, มอนโต และมุนดับบีราด้วย อิทธิพลของไซโคลนมาร์เซียจะส่งผลให้เกิดคลื่นสูงและฝนตกหนักในบางพื้นที่เกินกว่า 500 มม. ภายใน 24 ชม. ขณะเดียวกันอาจเกิดอันตรายจากคลื่นสูงซัดฝั่งและน้ำท่วมฉับพลันด้วย ส่งผลให้ประชาชนกว่า 53,000 คนถูกตัดขาดจากไฟฟ้า โรงเรียน 170 แห่งต้องปิดชั่วคราว และราว 870 ครัวเรือนอพยพไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว อย่างไรก็ตามพายุอ่อนกำลังลงและเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลทางตอนใต้แล้ว ขณะที่ไซโคลนแลมลดกำลังจากไซโคลนระดับ 4 เป็นพายุที่ความแรงระดับ 2 พัดถล่มพื้นที่ในรัฐนอร์เทิร์น เทอริทอรี และกำลังเคลื่อนตัวออกสู่ชายฝั่ง

พายุทอร์นาโดเป็นพายุขนาดเล็กแต่มีความรุนแรงมากที่สุด

5พายุหมุนเกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ทำให้บริเวณโดยรอบศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ซึ่งก็คือ ความกดอากาศสูงโดยรอบจะพัดเข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ขณะเดียวกันศูนย์กลางความกดอากาศต่ำจะลอยตัวสูงขึ้น และเย็นลงด้วยอัตราอะเดียเบติก ทำให้เกิดเมฆและหยาดน้ำฟ้า พายุหมุนจะมีความรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับอัตราการลดลงของความกดอากาศ ถ้าอัตราการลดลงของความกดอากาศมีมากจะเกิดพายุรุนแรง เราสามารถแบ่งพายุหมุนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

พายุหมุนนอกเขตร้อน ได้แก่ พายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตละติจูดกลางและเขตละติจูดสูง ซึ่งในเขตละติจูดดังกล่าวจะ มีแนวมวลอากาศเย็นจากขั้วโลกหรือมหาสมุทรอาร์กติก เคลื่อนตัวมาพบกับมวลอากาศอุ่นจากเขตกึ่งโซนร้อน มวลอากาศดังกล่าวมีคุณสมบัติต่างกัน แนวอากาศจะเกิดการเปลี่ยนโดยเริ่มมีลักษณะโค้งเป็นรูปคลื่น อากาศอุ่นจะลอยตัวสูงขึ้นเหนืออากาศเย็น ซึ่งเช่นเดียวกับแนวอากาศเย็นซึ่งจะเคลื่อนที่เข้าแทนที่แนวอากาศอุ่น ทำให้มวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้น และจากคุณสมบัติการเคลื่อนที่ของมวลอากาศเย็นที่เคลื่อนตัวได้เร็วกว่า แนวอากาศ อย่างไรก็ตามเวลาที่เกิดพายุหมุนนั้นจะเกิดลักษณะของศูนย์กลางความกดอากาศขึ้น ซึ่งก็คือ ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ลมจะพัดเข้าหาศูนย์กลาง (ความกดอากาศสูงเคลื่อนที่เข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ) ซึ่งลมพัดเข้าหาศูนย์กลางดังกล่าวในซีกโลกเหนือ มีทิศทางการพัดวนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนในซีกโลกใต้มีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งเป็นผลมาจากการหมุนของโลกนั่นเอง

พายุทอร์นาโดเป็นพายุขนาดเล็กแต่มีความรุนแรงมากที่สุด มักเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และนอกนั้นเกิดที่แถบประเทศออสเตรเลีย พายุดังกล่าวเกิดจากอากาศเคลื่อนที่เข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำอย่างรวดเร็ว ลักษณะพายุคล้ายปล่องไฟสีดำห้อยลงมาจากเมฆคิวมูโลนิมบัส ในมวลพายุมีไอน้ำและฝุ่นละออง ตลอดจนวัตถุต่าง ๆ ที่ถูกลมพัดลอยขึ้นไปด้วยความเร็วลมกว่า 400 กิโลเมตร / ชั่วโมง เมื่อพายุเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดฐานของมันจะกวาดทุกอย่างบนพื้นดินขึ้นไปด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายมาก พายุทอร์นาโดจะเกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน เนื่องจากมวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นสมุทรมาเคลื่อนที่พบกับมวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นสมุทร และถ้าเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ำเราเรียกว่า นาคเล่นน้ำ

อันตรายที่เกิดจากพายุโดยที่เราต้องเตรียมรับมือให้ดี

3

พายุไต้ฝุ่นเมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น คือ กำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปพัดผ่านที่ใดทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงดังนี้บนบก ทำให้ ต้นไม้ล้ม เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตายสวนไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝนตกหนักมากทั้งคืนทั้งวัน เมื่อน้ำจากป่าและภูเขาหลากลงมาอย่างมากมาย ท่วมบ้านช่อง ถนนหนทาง และเรือกสวนไร่นาล่มจมอยู่ใต้น้ำ เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน ถนนทางขาด ทะเล ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ ๆ อาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริม ทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลาย พายุโซนร้อน พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้ ต้นไม้ล้ม ถ้าไม่มีกาารเตรียมรับมือที่ดีก็จะเกิดความเสียหายได้

พายุดีเปรสชั่น พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกทั่วไปตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่ง ๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนาน ๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วม บ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากพายุได้ผ่านไปแล้วพายุฤดูร้อน พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่ต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อม ๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังพายุที่เกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 และพายุที่เกิดขึ้นที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2497 พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะ เวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนพังทะลาย ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตก

เตือนควันไฟเป็นปัจจัย เสริมที่ทำให้ความรุนแรงของพายุทอร์นาโดมากยิ่งขึ้น

Gregory Carmichael อาจารย์ด้านวิศวเคมีและวิศวชีวเคมี มหาวิทยาลัย University of Iowa ผู้อำนวยการร่วมสถาบัน Center for Global and Regional Environmental Research (CGRER) และ ผู้อำนวยการโครงการ Iowa Informatics Initiative ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างควันไฟกับ ความรุนแรงของพายุทอร์นาโดจากประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2011 ซึ่งเกิดพายุทอร์นาโดจำนวน 122 ลูก บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐฯ ทำให้มีผู้เสียชีวิต สูงถึง 313 คน และถูกพิจารณาว่าเป็นความรุนแรงที่สุดทางสภาพอากาศหลังจากเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1950

Carmichael กล่าวว่า สภาพอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและทันทีทันใดนั้น มีสาเหตุหลักจาก สภาพแวดล้อมซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของพายุทอร์นาโดที่มีความรุนแรง การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมหมุนที่ เกิดจากการเคลื่อนตัวขึ้นข้างบนของอากาศในเวลาที่นานขึ้น และอาจะทำให้เกิดลูกเห็บ การศึกษาของทีม นักวิจัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการศึกษาครั้งแรกถึงอิทธิพลของควันไฟต่อความรุนแรงของพายุ ทอร์นาโดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้ ศูนย์การคาดการณ์สภาพอากาศยังไม่เคย มีการพิจารณาถึงควันไฟในชั้นบรรยากาศและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทำให้มีการพิจารณาว่าควันไฟเป็นปัจจัย เสริมที่ทำให้พายุทอร์นาโดเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทีมนักวิจัยใช้คอมพิวเตอร์จำลองเพื่อศึกษาข้อมูลที่บันทึก ไว้ในช่วงเหตุการณ์ ค.ศ. 2011

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างควันไฟและผลกระทบจากแสงอาทิตย์และเมฆร่วมด้วย ซึ่งในอนาคตนักวิจัยจะ สามารถวิเคราะห์ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้โดยเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยวางโครงการที่จะทำงานร่วมกับผู้พัฒนา รูปแบบและหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการพยากรณ์เพื่อ ความก้าวหน้าในการดำเนินการทดสอบ และการร่วมมือเพื่อศึกษาผลกระทบเหล่านี้ในการพยากรณ์อากาศและยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก NASA, U.S. Environmental Protection Agency (EPA), National Institutes of Health (NIH), National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) และโครงการทุนวิจัย Fulbright-CONICYT ในประเทศชิล

สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อนวิธีการรับมือการเกิดพายุ

6

ช่วงอากาศร้อนและร้อนต่อเนื่องหลายวัน คนส่วนใหญ่จะนึกถึง พายุฤดูร้อน ซึ่งพายุฤดูร้อนนี้จะเกิดขึ้นทุกปีและมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ พายุฝนฟ้าคะนอง พายุนี้จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน มักเกิดในราวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน แต่ปีนี้พายุฤดูร้อนมาต้นเดือนมีนาคม มีความแรง และกินบริเวณกว้าง พายุฤดูร้อนสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยต่างๆ ต้นไม้โค่นล้ม เช่น พายุฤดูร้อนพัดถล่มที่จังหวัดกาฬสินธุ์ส่งผลให้บ้านเรือนสถานที่ราชการเสียหายกว่า 200 หลังคาเรือน ครอบคลุม 2 อำเภอ และพายุฤดูร้อนพัดถล่ม อำเภอเปือยน้อย และ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ได้เกิดพายุลมแรงพัดผ่านหมู่บ้าน มีลูกเห็บตก สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนประชาชนจำนวนมาก ความเสียหายมากกว่า 300 หลังคาเรือน ที่หนักที่สุดคือจังหวัดเชียงราย พายุถล่ม 3 วันติดต่อกัน 160 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 2,600 หลัง พายุฤดูร้อนนั้นจะทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ลมพายุพัดอย่างแรง โดยมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าเกิดขึ้น หรือในบางครั้งอาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย แต่ฝนที่ตกนั้นจะตกไม่นาน เพียงแค่ประมาณ 2 ชั่วโมงก็จะหยุดไป และกินพื้นที่แคบๆ ประมาณ 10-20 ตารางกิโลเมตร เมื่อฝนหยุดตกแล้วอากาศจะเย็นลง และท้องฟ้าจะเปิดอีกครั้ง

สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มสูงมากกว่า 10 กิโลเมตร หรือที่เรียกว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า ลบ 60 ถึง ลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทำให้เกิดลูกเห็บตกได้

สาเหตุการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในปัจจุบัน

14

ฤดูกาลของการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้หรืออ่าวไทยนั้น เกิดในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม หรือพฤศจิกายน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม มักไม่ปรากฏมากนัก อาจมีเพียง ๑ – ๒ ลูก แต่ในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน อาจมีถึง ๓ – ๔ ลูก พายุที่เกิดในช่วงนี้มักจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนาม แล้วค่อยๆ อ่อนกำลังลงตามลำดับ ไม่มีอันตรายจากลมแรง แต่พายุที่เกิดในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ส่วนใหญ่จะผ่านมาทางตอนใต้ของปลายแหลมญวน หากเป็นพายุใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น พายุเขตร้อน“แฮร์เรียต” และพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ที่ได้กล่าวมาแล้ว

ส่วนพายุหมุนเขตร้อนในทะเลอันดามัน เกิดได้ใน ๒ ช่วงเวลาของปี คือ ในเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคมช่วงหนึ่ง และในกลางเดือนตุลาคมถึงธันวาคมอีกช่วงหนึ่ง โดยเกิดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน และเกิดมากรองลงมาในเดือนพฤษภาคม ช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนเข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุดเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม รองลงมาคือเดือนกันยายน จำนวนพายุหมุนเขตร้อน ที่เข้าสู่ประเทศไทย โดยเฉลี่ยมีประมาณ ๓ ลูกต่อปี ตามข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ปรากฏว่า พายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงเป็นพายุเขตร้อนหรือพายุไต้ฝุ่น เมื่อเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๔ – พ.ศ. ๒๕๔๘ มีรวมทั้งหมด ๑๒ ลูก คือ

พายุไต้ฝุ่น “เว้” (Vae) ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ค่อนไปทางใต้ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเขตร้อน และพายุไต้ฝุ่นตามลำดับ พายุนี้ขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่  ๒๐  ตุลาคม ขณะที่ยังมีกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น ต่อมา พายุนี้ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยด้านจังหวัดตราด ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม เมื่ออ่อนกำลังลงเป็นพายุเขตร้อน ทำให้เกิดน้ำท่วมหลายแห่งในจังหวัดชลบุรี จันทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากเรือใบล่มในทะเลจำนวนหนึ่งด้วย

พายุเขตร้อน “แฮร์เรียต” (Harriet) เริ่มก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเหนือทะเลจีนใต้ตอนล่าง เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้วเคลื่อนตัวสู่อ่าวไทยตอนล่าง เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พร้อมกับทวีกำลังเป็นพายุเขตร้อน แล้วเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่บริเวณแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาคใต้เป็นอย่างมาก ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปถึงจังหวัดนราธิวาส รวม ๑๒ จังหวัด มีผู้เสียชีวิต ๙๓๕ คน บ้านเรือนพังทลายกว่า ๕๐,๐๐๐ หลัง ไร่นาเสียหายนับแสนไร่ รวมค่าเสียหายกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท

ผลกระทบต่อพื้นผิวโลกและบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ

10

พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ พายุเฮอร์ริเคน เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก พายุไต้ฝุ่น เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น พายุไซโคลน เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี พายุโซนร้อน เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

พายุทอร์นาโด เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวงลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น

ปัญหาและการเตรียมรับมือกับวาตภัยอย่างทันท่วงที

วาตภัย เป็นภัยที่เกิดจากลมหรือพายุที่มีความรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในวงกว้าง วาตภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดพายุหมุนเขตร้อน เช่น พายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน โดยเมื่อเกิดพายุจะทำให้เกิดลมแรง สามารถพัดให้บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้และเสาไฟ้าหักโค่น ป้ายโฆษณาพังถล่ม ซึ่งสร้างอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างรุนแรง แต่ถ้าพายุดังกล่าวเกิดในทะเลจะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงพัดถล่มชายฝั่ง ซึ่งสามารถทำให้สิ่งปลูกสร้างที่อยู่ชายฝั่ง เรือประมงหรือเรือประเภทอื่นๆเสียหาย ในบางครั้งพบว่าเรือขนาดใหญ่สามารถถูกลมแรงๆทำให้พลิกคว่ำได้ โดยอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดวาตภัยคือการเกิดพายุฤดูร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฝนตกฟ้าคะนองอย่างรุนแรงเฉียบพลัน มีลมพัดแรง และบ่อยครั้งที่พบว่ามีลูกเห็บตกร่วมด้วย

ประเทศไทยมีผลกระทบเนื่องจากพายุมีทั้งประโยชน์และโทษ พายุที่อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันมีประโยชน์ในแง่ที่ก่อให้เกิดฝนตกปริมาณมากซึ่งช่วยคลี่คลายสภาวะความแห้งแล้ง และสามารถกักเก็บน้ำไว้ตามแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆเพื่อใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย ในส่วนที่เป็นโทษของพายุดีคืออุทกภัยซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง และโรคระบาดที่เกิดตามมาหลังจากเกิดอุทกภัย และเมื่อพายุมีกำลังแรงขนาดพายุโซนร้อนจะมีความเสียหายเพิ่มขึ้นอีกจากวาตภัย เนื่องจากความเร็วลมตั้งแต่ 34 นอต (62 กม./ชม.) ขึ้นไปจะรุนแรงจนทำให้สิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงเสียหาย กิ่งไม้ต้นไม้หักโค่น และหากเป็นไต้ฝุ่นจะยิ่งมีความเสียหายมากขึ้น

ประเภทของวาตภัย

1.พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน
2.พายุหมุนเขตร้อนต่างๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล
3.พายุทอร์นาโด เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่นๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากวาตภัย

– ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
– สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
– ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
– ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
– เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
– เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ

พายุทอร์นาโดกับการเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ


ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกว่าได้ยินคำว่า “พายุ” อยู่บ่อยๆ ทั้งจากโทรทัศน์, วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ แถมประจวบกับที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศพม่าโดน “นาร์กีส” หรือ “พายุไซโคลน” ถล่มซะจนสร้างความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ จนทำให้หลายๆ คนอยากรู้จักกับพายุมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้รู้จักและหาป้องกันตัวเองได้ ดังนั้น เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับพายุให้มากขึ้น โดยเฉพาะ “พายุหมุนเขตร้อน” ที่มักเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยหรือเพื่อนบ้านรอบๆ

พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างพายุที่มีความน่ากลัวและรุนแรงมาก คือพายุทอร์นาโด

ทอร์นาโด 1 หรือ ทอร์เนโด 2 (tornado) หรือ พายุงวงช้าง เเป็นพายุที่เกิดจากกลุ่มลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุนจนเป็นงวงช้าง หรือลำอากาศหมุนเป็นเกลียวสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า โดยพายุทอร์นาโด สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ ซึ่งลักษณะที่พบบ่อยที่สุดคือรูปทรงกรวย มีด้านปลายเป็นโคนชี้ลงพื้นดิน ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้

ปกติแล้ว การเกิดพายุทอร์นาโดส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นในสหรัฐฯเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นทุ่งราบจำนวนมาก ซึ่งเอื้อต่อการก่อให้เกิดภาวะลมร้อนและลมเย็นปะทะกันในบริเวณทุ่งราบ แต่นอกจากนี้ พายุทอร์นาโด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีป และในหลายประเทศ รวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น ซึ่งมีพายุทอร์นาโดเกิดขึ้นปีละประมาณ 20 ครั้ง และบังกลาเทศ ซึ่งเคยเกิดพายุทอร์นาโดที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปประมาณ 1 พัน3 ร้อยคน ความรุนแรงของทอร์นาโดมีการแบ่งระดับเหมือนกับพายุรูปแบบอื่นๆ ซึ่งแบ่งตาม”ฟูจิตะ สเกล”เป็น”เอฟ 0″ถึง “เอฟ 5” โดยความเร็วลมอาจสูงถึงกว่า500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ความแรงของพายุยังส่งผลกับขนาดและการสลายตัวของพายุด้วย โดยพายุทอร์นาโดระดับ”เอฟ 0″ถึง “เอฟ 1” อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตร  ขณะที่พายุทอร์นาโดระดับ”เอฟ 5″อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่า 1 พัน 6 ร้อยเมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก่อนจะสลายตัว

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุทอร์นาโด
1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
3. ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ