พายุทอร์นาโดกับการเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ


ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกว่าได้ยินคำว่า “พายุ” อยู่บ่อยๆ ทั้งจากโทรทัศน์, วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ แถมประจวบกับที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศพม่าโดน “นาร์กีส” หรือ “พายุไซโคลน” ถล่มซะจนสร้างความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ จนทำให้หลายๆ คนอยากรู้จักกับพายุมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้รู้จักและหาป้องกันตัวเองได้ ดังนั้น เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับพายุให้มากขึ้น โดยเฉพาะ “พายุหมุนเขตร้อน” ที่มักเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยหรือเพื่อนบ้านรอบๆ

พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างพายุที่มีความน่ากลัวและรุนแรงมาก คือพายุทอร์นาโด

ทอร์นาโด 1 หรือ ทอร์เนโด 2 (tornado) หรือ พายุงวงช้าง เเป็นพายุที่เกิดจากกลุ่มลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุนจนเป็นงวงช้าง หรือลำอากาศหมุนเป็นเกลียวสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า โดยพายุทอร์นาโด สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ ซึ่งลักษณะที่พบบ่อยที่สุดคือรูปทรงกรวย มีด้านปลายเป็นโคนชี้ลงพื้นดิน ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้

ปกติแล้ว การเกิดพายุทอร์นาโดส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นในสหรัฐฯเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นทุ่งราบจำนวนมาก ซึ่งเอื้อต่อการก่อให้เกิดภาวะลมร้อนและลมเย็นปะทะกันในบริเวณทุ่งราบ แต่นอกจากนี้ พายุทอร์นาโด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีป และในหลายประเทศ รวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น ซึ่งมีพายุทอร์นาโดเกิดขึ้นปีละประมาณ 20 ครั้ง และบังกลาเทศ ซึ่งเคยเกิดพายุทอร์นาโดที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปประมาณ 1 พัน3 ร้อยคน ความรุนแรงของทอร์นาโดมีการแบ่งระดับเหมือนกับพายุรูปแบบอื่นๆ ซึ่งแบ่งตาม”ฟูจิตะ สเกล”เป็น”เอฟ 0″ถึง “เอฟ 5” โดยความเร็วลมอาจสูงถึงกว่า500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ความแรงของพายุยังส่งผลกับขนาดและการสลายตัวของพายุด้วย โดยพายุทอร์นาโดระดับ”เอฟ 0″ถึง “เอฟ 1” อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตร  ขณะที่พายุทอร์นาโดระดับ”เอฟ 5″อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่า 1 พัน 6 ร้อยเมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก่อนจะสลายตัว

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุทอร์นาโด
1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
3. ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ